วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เลือกเรียนอย่างไหนดีกับเทคโนโลยีคอมพ

Pages: [1]
Author Topic: เลือกเรียนอย่างไหนดีกับเทคโนโลยีคอมพ  (Read 223 times)
ne
Guest


Email
« on: January 29, 2010, 09:59:56 am »
Reply with quoteQuote

หลาย คนหันมาให้ความสนใจกับคอมพิวเตอร์ ทั้งอยากรู้ อยากเรียน อยากทำงานด้านนี้ ซึ่งแต่ละหลักสูตรต่างก็มีหลากหลายมากมายไปหมด ทั้ง วิทย์คอมฯ วิศวะคอมฯ Database คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค เทคโนโลยีสารสนเทศ  รวมทั้ง ICT แล้วแบบไหนกันที่ตรงตามความต้องการและความสามารถของเรา บทความจึงขอแนะนำสาขาหลักๆในศาสตร์การเรียนการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้

             1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science)
             2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering)
             3. วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering)
             4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ Information System)
             5. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering)

             ซึ่งแต่ละสถาบันการศึกษาก็อาจมีหลักสูตร หรือชื่อสาขาวิชาที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักๆแล้วก็ไม่แตกต่างกันมากนัก
         1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science)
          สิ่งต่างๆที่เราใช้งานอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบปฏิบัติการล่าสุดกับ Windows , PageMaker, AutoCAD, Java Programing, The Sims, intel pentium 4,ซอฟต์แวร์คำนวณการจัดเรียงสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ฯลฯ ล้วนมาจากการพัฒนาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์นั้นเอง




ภาพ Java Programming
ที่มา downarchive.com



             วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็นภาควิชาหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาแนวคิด และทำการพิสูจน์อย่างมีแบบแผน ในการค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย เพื่ออธิบายระบบและกระบวนการขั้นตอนในการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิ ตัล อื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, การคิดค้นภาษาใหม่หรือปรับปรุงภาษาคอมพิวเตอร์แบบเก่าให้มีคุณภาพมากขึ้น, กรรมวิธีในการแก้ปัญหาalgorithm, ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์, ทฤษฎีภาษาคอมพิวเตอร์, กระบวนการประมวลผลของข้อมูลที่ไปประมวลผลที่คอมพิวเตอร์, ทฤษฏีเครือข่าย, เทคนิคในการติดต่อกับมนุษย์หรือผู้ใช้ทั่วไป เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำมาใช้ในการสร้างอุปกรณ์และนวัตกรรม ให้สาขาวิชาอื่นๆนำไปต่อยอดตามศาสตร์และศิลป์ของตนเอง

ตัวอย่างวิชาที่เรียน

             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ชีวิวิทยา, เคมีทั่วไป, เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัส, หลักสถิติ, ปฏิบัติการฟิสิกส์, ฟิสิกส์พื้นฐานขั้นมหาวิทยาลัย, พีชคณิตเชิงเส้น และเทคโนโลยีสารสนเทศ
             วิชาเฉพาะทาง เช่น การวิเคราะห์และการออกแบบระบบงาน, การสื่อสารข้อมูลและข่ายงาน, ระบบฐานข้อมูล, โครงสร้างโปรแกรม, โครงสร้างข้อมูลอัลกอริทึม, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การออกแบบดิจิตอลทฤษฎี, การคำนวณชั้นสูง, หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, โครงสร้างคอมพิวเตอร์เบื้องต้น, ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและภาษาแอสแซมบลี, โครงสร้างข้อมูลและหลักพื้นฐานของอัลกอริทึม, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ และเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น
             นักเขียนโปรแกรม, นักวิเคราะห์ระบบ, นักวิศวกรระบบ, นักบริหารระบบปฏิบัติการ, นักพัฒนาระบบ, นักบริหารเครือข่าย, ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์, ผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนลูกค้า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์, นักออกแบบระบบ และนักวิจัยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering)
             LCD Monitor, mp4 player, Touch Pad, PDA Phon, เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ นี่คือตัวอย่างสิ่งในชีวิตประจำวันที่ได้มาจากการศึกษาทางด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์




ภาพ Computer Engineering
ที่มา maqtanim.files.wordpress.com



             วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ สร้างเครื่องหรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การสื่อสาร ควบคู่กับความรู้ทางด้านวิศวกรรม โดยมีรากฐานจาก Computer Science เป็นสาขาที่แตกตัวมาจากวิศวกรรมไฟฟ้า หรืออธิบายให้เห็นภาพก็คือ เหล่าเทคโนโลยี เริ่มมาจากประยุกต์ความรู้ทางฟิสิกส์ จนมาเป็นไฟฟ้า แล้วก็เรื่อยมาจนเป็นอิเส็กค์ทรอนิคส์ จากนั้นก็นำความรู้ทางฟิสิกส์ ไฟฟ้า คณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานในสร้าง Hardware และอุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ นั้นก็คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ และมีโดดเด่นทางด้านวิศวกรรม

ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น แคลคูลัส, เคมีทั่วไป, ปฏิบัติการเคมีทั่วไป, ฟิสิกส์ทั่วไป, ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป และคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
             กลุ่มวิชาเฉพาะทาง เช่น การเขียนแบบวิศวกรรม, คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์, ความน่าจะเป็นและสถิติวิศวกรรม, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม, การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, การออกแบบวงจร VLSI, ระบบไมโครโปรเซสเซอร์, ระบบดิจิตอล, โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, อาชญากรรมและการป้องกันทางคอมพิวเตอร์ และการออกแบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น 
             วิศวกรคอมพิวเตอร์, วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์, นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย, นักพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, นักบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์, นักบริหารและจัดการฐานข้อมูล, นักออกแบบวงจร เช่น วงจรการขึ้นลงของลิฟท์ การออกแบบไมโครคอมพิวเตอร์ในรถยนต์




ภาพ To have a strong basic computer understanding, we need to know about software and hardware.
ที่มา i40.tinypic.com



             สำหรับข้อสงสัยที่น้องนักเรียนมักถามกันบ่อยๆว่าอะไรคือข้อแตกต่างชัดๆ ระหว่าง วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร

             สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะให้ความสนใจทางสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก คือ เน้น Hardware เป็นส่วนใหญ่นั้นเอง คล้ายว่าเป็นการเรียนเพื่อสร้างอุปกรณ์

             ส่วนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จะให้ความสนใจด้านการวิเคราะห์ออกแบบระบบ คือ เน้น Software เป็นหลัก สนใจทางด้านระบบคอมพิวเตอร์มากกว่าทางด้าน physical คล้ายว่าเป็นการเรียนใช้งานอุปกรณ์



3. วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering)

             เป็นศาสตร์ที่นำเอาองค์ความรู้ของการผลิตสื่อมัลติมีเดีย รวมทั้งบริการผ่านเทคโนโลยีสื่อสารและคอมพิวเตอร์สมัยใหม่  ใช้ทักษะการออกแบบสื่อตามจุดมุ่งหมาย มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวมสื่อการพัฒนาเนื้อหา และบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีรับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้น เช่น  การบันทึกสื่อ การลดขนาดสื่อมัลติมีเดีย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลักการและการทำงานของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และโครงข่ายสื่อสารความ เร็วสูง การผลิตและทดสอบเกมคอมพิวเตอร์  และการประยุกต์อุปกรณ์สมัยใหม่ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย




ภาพ Engineering Program in Multimedia and Internet System Engineering
ที่มา eng.bu.ac.th



ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น แคลคูลัส, เคมีทั่วไป, ปฏิบัติการเคมีทั่วไป, ฟิสิกส์สมัยใหม่, ปฏิบัติการฟิสิกส์สมัยใหม่, คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมระบบและมัลติมีเดียและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
             วิชาเฉพาะทาง เช่น การเขียนแบบวิศวกรรม, ทักษะการสร้างสรรค์สื่อมัลติมีเดีย, พื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์, ทฤษฎีสัญญาณและเสียง, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การเขียนโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมเครือข่าย, เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตการผลิตสื่อมัลติมีเดีย, วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์,เครือข่ายไร้สายและเคลื่อนที่, ระบบดิจิตอล, ความน่าจะเป็นและสถิติวิศวกรรม, การจัดการสารสนเทศและบริการ, ระบบสื่อสารด้วยมัลติมีเดีย, การเขียนโปรแกรมระบบมัลติมีเดีย, เทคโนโลยีเครื่องบริการเว็บ, คอมพิวเตอร์กราฟิกและอนิเมชัน, เทคนิคพิเศษสำหรับมัลติมีเดีย, วิศวกรรมระบบเสียงและภาพ, ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย,โครงงานวิศวกรรมมัลติมีเดียและ ระบบอินเทอร์เน็ต, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และหลักการสื่อสาร

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น
             วิศวกรดูแลและพัฒนาระบบมัลติมีเดีย, วิศวกรระบบภาพและเสียง, ผู้ผลิตเกมคอมพิวเตอร์, วิศวกรระบบเครือข่าย, ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย, วิศวกรเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง, ผู้ผลิตสื่อดิจิตอล, ผู้พัฒนาระบบแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที, นักเขียนโปรแกรมด้านมัลติมีเดีย และผู้จัดการระบบสารสนเทศ

4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ Information System)
             เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หรือบางสถาบันจะเปิดสอนในชื่อหลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)

             ไอที (IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ สาขานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นเทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึง การรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี เพื่อนำข้อมูลนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำ Simulation หรือ โปรแกรมการจำลองการทำงานต่าง ๆ อย่างการจำลองการทำงานของตลาดหุ้น, การจำลองการทำงานของเครื่องบิน




ภาพ Systems analysis
ที่มา ignaga.wordpress.com



             หรืออธิบายสั้นๆ ได้ว่า เป็นการจัดการข้อมูล โดยศึกษาโปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาจัดระบบ

ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น  ความน่าจะเป็นและสถิติ, แคลคูลัส, คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มนุษย์และสิ่งแวดล้อม, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ, สถิติธุรกิจ, หลักการบัญชี, เคมีทั่วไป และคณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง
             วิชาเฉพาะทาง เช่น หลักการสืบค้นสารสนเทศ, เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์, โครงสร้างข้อมูลและหลักพื้นฐานของอัลกอริทึม, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ, หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สารสนเทศ ระบบปฏิบัติการ, เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม, ระบบการจัดการฐานข้อมูล, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์, การสื่อสารข้อมูลและ, การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย เทคโนโลยีเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต, การออกแบบส่วนต่อประสานกับมนุษย์, ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ, เทคโนโลยีมัลติมีเดีย, การออกแบบปฏิสัมพันธ์บนอุปกรณ์ไร้สาย, การออกแบบและสร้างเว็บ

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น
             ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์, นักวิเคราะห์ระบบ, ผู้พัฒนาระบบสื่อ, นักเขียนโปรแกรม, นักพัฒนาระบบ, นักออกแบบระบบ, นักบริหารเครือข่าย, นักวิจัยคอมพิวเตอร์, ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนลูกค้า ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

5. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering)
             เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตซอฟต์แวร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว นับวันจะมีขนาดและความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องมีพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ขึ้นเพื่อที่จะ ควบคุมและดำเนินการผลิต ให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามต้องการและเป็นมาตรฐานสากล




ภาพ Top Ten Software Engineering Ideas, in Jacksonville
ที่มา www.yourdonreport.com



             วิศวกรรมซอฟต์แวร์ จะเน้นที่กระบวนการวิศวกรรมสำหรับระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการโครงการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยเริ่มด้วยการวิเคราะห์ความต้องการ, การตั้งเป้าหมายของระบบ, การออกแบบ, การพัฒนา, การทดสอบ, การประเมินผล, การติดตามโครงการ, การประเมินต้นทุน, การรักษาความปลอดภัย, การบำรุงรักษาระบบซอฟต์แวร์ ตลอดจนถึงถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์



ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น แคลคูลัส, พีชคณิตเชิงเส้น, เคมีทั่วไป, ปฏิบัติการเคมีทั่วไป, ฟิสิกส์ทั่วไป และปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
              วิชาเฉพาะทาง เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์, การกำหนดและการจัดการความต้องการทางซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ, สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์, กระบวนการซอฟต์แวร์และการประกันคุณภาพ, การจัดการโครงงานซ$
Logged

วิศวกรรมคอมพิมเตอย์ กับ วิทยาการคอมพิมเตอย์

วิศวกรรมคอมพิมเตอย์ กับ วิทยาการคอมพิมเตอย์ [วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์]
คะแนน: 5 2 คำตอบ มีการดู 444 ครั้ง
1
คือผมชอบทางเขียนโปรเเกรม อ่าคับ

วิศวกรรมคอมพิมเตอย์  เพื่อนพี่ผมทีเค้าเรียนวิศวกรรมคอมพิมเตอย์บอกว่า วิศวกรรมคอมพิมเตอย์ หางานง่ายกว่า  วิทยาการคอมพิมเตอย์

เเลัวผมตันไม่ได้เรียนสาย วิทย์-นิก สะด้วย ผมเรียน สาย ศิลป์ - คำนวณ
ผมมีทางทีจะเข้า
วิศวกรรมคอมพิมเตอย์ กับ วิทยาการคอมพิมเตอย์ ได้ทำไมหรือต้อง
ม. เอกชัยอย่างเดียว

ต่อท้าย #1 21 มิ.ย. 2553, 17:36:56
วิทยาการคอมนี้สายศิลป์-คำนวณเข้าได้ไมอ่า
รับการแจ้งทางอีเมลเมื่อได้รับคำตอบใหม่
คำตอบ จัดเรียงตามเวลา จัดเรียงตามการลงคะแนน
1
ได้สิ จะกลัวอะไร  สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ♥

ใจพร้อม กายพร้อม สมองพร้อม  การเงินพร้อม  เราทำได้  อย่าลืม ดื่มไวตามิลค์
 
0
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่มา :จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิศวกรรม คอมพิวเตอร์ (computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้องเคยศึกษาการออกแบบระบบ ฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดี ด้วย ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
มหาวิทยาลัยในด้าน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์มีเพียง 2 มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยมคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มีเพียง 1 มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเกณฑ์ดีคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฏีเครือข่าย
ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะเรียนเขียนโปรแกรม ลึกซึ่งกว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์ค่ะ
เพราะเราเองก็เรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ มาเหมือนกันค่ะ แต่ไม่ได้ ทำงานด้านเขียนโปรแกรมค่ะ
เท่าที่รู้มา เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ต้องจบ วิทย์ -คณิตไม่ใช่หยอ

การอ้างอิง
 
นอกจากนี้คุณอาจสนใจ
ผมจะซื้อคอมพิวเตอ์ช้วยบอกหน่อยครับ  - 1 คำตอบ  มีการดู 116 ครั้ง
คอมพิวเตอมักรีสตาดเองแก้ยังไงครับ  - 3 คำตอบ  มีการดู 633 ครั้ง
คอมจะพัง เก็บข้อมูลไว้ไหนดี  - 5 คำตอบ  มีการดู 529 ครั้ง
"ปาเกียว - คลอตเตย์"เหลืออีกกี่ยกครับ  - 1 คำตอบ  มีการดู 105 ครั้ง
สวัสดีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  - 7 คำตอบ  มีการดู 177 ครั้ง
มอเตอรไฟฟ้ากระแสสลับ  - 3 คำตอบ  มีการดู 1667 ครั้ง

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE) คือ ?

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CE) คือ ?


วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering)

>>> เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์


>>>วิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้อง เคยศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดี ด้วย


>>>ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน


>>> ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีจุดเด่นคือ การเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ โดยหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะเน้นการเรียน การสอน วิชาการโปรแกรมสมัยใหม่ ระบบเอมเบดเดด ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการก้าวไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม มีความต้องการแรงงานที่มีคุณภาพ และวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จึงเปิดดำเนินการสอนครบทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพ และนักพัฒนาที่มีความสามารถ ในการที่จะออกไปรับใช้สังคม


>>>>>>>>>>>>>> แหล่งอ้าง อิง<<<<<<<<<<<<<<<<
>>>>>>>>>http://www.mut.ac.th<<<<<<<<<<<<<
>>>>>>>>>http://th.wikipedia.org<<<<<<<<<<<<<

 
อาชีพล่าสุดของบาร์บี้ คือวิศวกรคอมพิวเตอร์!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ 2553 00:31 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
บริษัท ผลิตของเล่น Mattel เปิดตัวตุ๊กตาบาร์บี้เวอร์ชันผู้ประกาศข่าว News Anchor Barbie (ซ้าย) และบาร์บี้เวอร์ชันวิศวกรคอมพิวเตอร์ Computer Engineer Barbie ในงานมหกรรมของเล่น Toy Fair ซึ่งจัดขึ้นที่นิวยอร์ก
บาร์บี้คนขยันกำลังถูกเพิ่มรายการอาชีพลงในเรซูเมขึ้นอีก 2 อาชีพ เมื่อบริษัทผู้ผลิตของเล่น Mattel เปิดตัวตุ๊กตาบาร์บี้เวอร์ชันผู้ประกาศข่าว News Anchor Barbie และบาร์บี้เวอร์ชันวิศวกรคอมพิวเตอร์ Computer Engineer Barbie ในงานมหกรรมของเล่น Toy Fair ซึ่งจัดขึ้นที่นิวยอร์กเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
       

       รายงานระบุว่า อาชีพใหม่ของตุ๊กตาแฟชันยอดนิยมนี้มาจากการโหวตโดยเด็กๆกว่า 500,000 คะแนนเสียง โดยนี่คือครั้งแรกที่มีการเปิดให้แฟนบาร์บี้ออกความเห็นว่าอยากให้บาร์บี้ทำ งานอะไร ซึ่งอาชีพนักข่าวและวิศวกรคอมพิวเตอร์นั้นคืออาชีพลำดับที่ 125 และ 126 ของบาร์บี้
      
       บาร์บี้เซียนไอทีจะเริ่มวางจำหน่ายในฤดูใบไม้ ร่วงของปีนี้ ในรูปร่างหน้าตาของชาว geek ที่มีสไตล์ของตัวเอง สวมแว่นตาสีชมพูเหมือนแล็บท็อปที่ถืออยู่ แถมไม่ลืมเสียบหูฟังบลูทูธไว้ที่ใบหู
      
       Computer Engineer Barbie นั้นถูกออกแบบโดยความร่วมมือกับสมาคมวิศวกรสตรีหรือ Society of Women Engineers ของสหรัฐฯ ซึ่งหวังว่าเด็กหญิงอเมริกันจะได้รับแรงบันดาลใจและอยากทำอาชีพวิศวกรมาก ขึ้น
      
       "บาร์บี้ในอาชีพวิศวกรคอมพิวเตอร์จะทำให้เด็กๆเห็นว่า ผู้หญิงสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ของผู้คน" นอร่า ลิน (Nora Lin) ประธานสมาคมให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ส
      
       สำหรับบาร์บี้นักข่าว News Anchor Barbie นั้นมาพร้อมสูทสีชมพู มือถือแฟ้มข่าว กล้องดิจิตอล และไมโครโฟน มีคิววางจำหน่ายในปีนี้เช่นกัน
      
       ตุ๊กตาบาร์บี้หรือ Barbie นั้นถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1959 โดยอาชีพของบาร์บี้นั้นมีตั้งแต่นักบินอวกาศ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เจ้าหญิง นักเต้นระบำ ทหารร่มชูชีพ รวมถึงพนักงานแคชเชียรร้านแมคโดนัล (McDonald)
      
       ยังไม่ปรากฏราคาจำหน่ายในขณะนี้
      
       Company Related Links :
       Mattel
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บาร์บี้คอลเลกชันใหม่...เปลี่ยนโฉมเป็นหน้าคนดัง
ข่าวล่าสุด ในหมวด
ทวิตเตอร์เปลี่ยนซีอีโอโหมทำเงิน
ข่าวสั้น : ริมเล็งจับระบบปฏิบัติการแท็บเล็ตลงบีบี, คาดไมโครซอฟท์เปิดสมาร์ทโฟนใหม่ 11 ต.ค.
HP ดึงอดีตผู้บริหาร SAP นั่ง CEO
โซนีอีริกสันโชว์จอจิ๋วไร้สาย ดูSMS-มิสคอล-เฟสบุ๊กจากมือถือได้
บิล เกตส์ครองแชมป์รวยสุด 17 ปีซ้อน