วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิศวกรคอมพิวเตอร์...หัวใจหลักของตลาดแรงงาน

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)


วิศวกรคอมพิวเตอร์...หัวใจหลักของตลาดแรงงาน

Update : 15 July, 2010
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีจุดเด่นคือ การเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ โดยหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะเน้นการเรียน
การสอน วิชาการโปรแกรมสมัยใหม่ ระบบเอมเบดเดด ฯลฯ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาค อุตสาหกรรม
ในปัจจุบัน
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการก้าวไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม มีความต้องการแรงงานที่มีคุณภาพ
และวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ภาควิชา
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จึงเปิดดำเนินการสอนครบทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
และปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพ และนักพัฒนาที่มีความสามารถ
ในการที่จะออกไปรับใช้สังคม

ห้องปฏิบัติการที่โดดเด่น
(กลับด้านบน)

  • ห้องปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 100 ชุด
    ที่เชื่อมต่ออยู่กับ ชุดทดลองด้านฮาร์ดแวร์ ออสซิลโลสโคป และเครื่องวิเคราะห์ลอจิก
    รองรับนักศึกษาได้ 200 คน
  • ห้องปฏิบัติการโครงข่ายคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
    สมรรถนะสูง ซีพียู Intel Core II Duo จำนวน 50 ชุด เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Router/Switch ยี่ห้อ
    Huawei-3Com จำนวน 50 ชุด และเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย Dell จำนวน 3 ชุด จัดเป็นห้อง
    ปฏิบัติการที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
  • ห้องปฏิบัติการโครงงานวิศวกรรม ประกอบด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องมือวัด เพื่อรองรับ
    การเรียนการสอนวิชาโครงงานวิศวกรรม สำหรับนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย

แนวทางประกอบอาชีพ (กลับด้านบน)

- ภาคเอกชน ปัจจุบันธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกเหนือจากบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น IBM, Microsoft, Oracle, SAP แล้ว ยังมีบริษัทในประเทศเช่น
บริษัท CDG บริษัท เมโทรซิสเต็ม เป็นต้น รวมทังบริษัท SI อีกมากมายที่สามารถรองรับนักศึกษาที่จบการศึกษา
จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทขนาด SME ที่มุ่งเน้นการทำงานประเภท
R&D อีกมากมาย
- ภาคราชการและรัฐวิสาหกิจ ปัจจุบันหน่วยงานทุกแห่งล้วนต้องการรับบุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงเช่น บริษัท ทีโอทีคอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท กสท โทรคมนาคม
จำกัด เป็นต้น
- สถาบันการเงิน เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ต้องการบุคคลากรด้านไอที
- อาชีพอิสระ อาจเปิดซอฟต์แวร์เฮาส์ขนาดเล็ก นักพัฒนาระบบและโปรแกรมเมอร์อิสระ

แนวทางการศึกษาต่อ (กลับด้านบน)

สามารถเลือกศึกษาต่อได้ทั้งในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ รวมถึงสาขาบริหารธุรกิจ
ทั้งในและต่างประเทศ

ข้อมูลหลักสูตร (กลับด้านบน)

หลักสูตร 4 ปี
จำนวนหน่วยกิต                  142 หน่วยกิต
หน่วยกิตละ                        1,500 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร                รับผู้จบ ม.6/ปวช. (เกรดGPA 2.00 ขึ้นไปไม่ต้องสอบ)

 หลักสูตร เทียบโอน 
จำนวนหน่วยกิต                  115-119 หน่วยกิต
หน่วยกิตละ                        1,500 บาท
คุณสมบัติผู้สมัคร                รับผู้จบ ปวส. (เกรดGPA 2.25 ขึ้นไปไม่ต้องสอบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น