ทีม Skeek คว้ารางวัลชนะเลิศ Imagine Cup 2010
ทีม Skeek ซึ่งประกอบด้วยนายกฤตธี ศิริสิทธิ์ นายธนะสรรค์ ดิลกพินิจนันท์ นายนนทวรรธ ศรีจาด และนายพิชัย โสดใส นิสิตสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้จากภาควิชา คว้ารางวัลชนะเลิศ Imagine Cup 2010 การแข่งขันดังกล่าวสเป็นการแข่งขันการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จัดขึ้นโดย บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น สำหรับปีนี้การแข่งขันระดับนานาชาติจัดขึ้นที่ประเทศโปแลนด์ โครงการ eyeFeel ที่ได้รับรางวัลเป็นซอฟต์แวร์ช่วยในการสื่อสารสำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน
ทีม SKUBA คว้ารางวัลชนะเลิศ Robocup 2010
นิสิตสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้คว้ารางวัลชนะเลิศ Thailand Imagine Cup 2010
ทีมอื่น ๆ ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ทีม Permernant จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อันดับที่ 2) และทีม Wakeup Late และ Bughouse จากมหาวิทยาลัยมหิดล (อันดับที 3 และ 4) ขอแสดงความยินดีกับทุกทีมที่ได้รับรางวัล สำหรับรูปและรายละเอียดจะประกาศที่นี่ต่อไป
บทความจากภาควิชาได้รับรางวัลบทความดีเด่น
นิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์คว้ารางวัลชนะเลิศทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัวติดต่อกันเป็นปีที่สอง
นิสิตที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจาก NSC2009 เข้ารับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขอแสดงความยินดีกับห้องปฏิบัติการวิจัยเครือข่ายไร้สาย
- ผลิตภัณฑ์ Real time RFID Attendance System และ
- ผลิตภัณฑ์ RFID Access control with Air Support (RAAS)
ขอแสดงความยินดีกับทีม Skuba ที่คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ประเภทหุ่นขนาดเล็กจาก RoboCup'09
ทีม Skuba ที่ประกอบไปด้วยนิสิตจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และนิสิตภาควิชาวิศวกรรม ไฟฟ้าจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ประเภทหุ่นขนาดเล็กจาก RoboCup'09 ที่ประเทศออสเตรีย
นอกจากนี้ทีม Skuba ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ อีกสองรางวัลคือ รางวัลชนะเลิศ Technical Challenge (รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม) และ รางวัล Best Exteneded Team Description Paper (ETDP) (รางวัลเอกสารยอดเยี่ยม) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการแข่งขันที่มีทีมที่ได้รับรางวัลทั้งสามพร้อมกัน
นอกจากนี้ ทีมนิสิตนักศึกษาจากประเทศไทยยังคว้าอีกหลายรางวัลจากการแข่งขันดังกล่าว โดยทีม iRAP_Pro จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือคว้ารางวัลชนะเลิศหุ่นยนต์ กู้ภัย และทีม PlasmaZ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลที่ 3 จากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ประเภทหุ่นขนาดเล็ก
ติดตามข่าวเกี่ยวกับทีม Skuba ได้ที่ kucity, manager.co.th สามารถชมภาพวิดีโอจากการแข่งขันได้ทาง YouTube
นอกจากนี้ทีม Skuba ยังได้รับรางวัลอื่น ๆ อีกสองรางวัลคือ รางวัลชนะเลิศ Technical Challenge (รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม) และ รางวัล Best Exteneded Team Description Paper (ETDP) (รางวัลเอกสารยอดเยี่ยม) ซึ่งเป็นครั้งแรกของการแข่งขันที่มีทีมที่ได้รับรางวัลทั้งสามพร้อมกัน
นอกจากนี้ ทีมนิสิตนักศึกษาจากประเทศไทยยังคว้าอีกหลายรางวัลจากการแข่งขันดังกล่าว โดยทีม iRAP_Pro จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือคว้ารางวัลชนะเลิศหุ่นยนต์ กู้ภัย และทีม PlasmaZ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลที่ 3 จากการแข่งขันฟุตบอลหุ่นยนต์ประเภทหุ่นขนาดเล็ก
ติดตามข่าวเกี่ยวกับทีม Skuba ได้ที่ kucity, manager.co.th สามารถชมภาพวิดีโอจากการแข่งขันได้ทาง YouTube
ComKUCamp: Barcamp ฉบับมหาวิทยาลัย
Barcamp เป็นงานสัมมนานอกกรอบ คือเป็นงานที่ไม่มีการกำหนดรูปแบบงาน ผู้พูด หรือผู้ฟัง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ “ผู้ร่วมงาน” ว่าจะจัดการอย่างไร โดยผู้ร่วมงานแต่ละคนเสนอหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ แล้วทุกคนก็ช่วยกันเลือกหัวข้อที่น่าสนใจขึ้นมาเอง แต่นิสิตนักศึกษาที่สนใจงานนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมด ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากช่องว่างระหว่างผู้ร่วมงานที่ห่างกันมาก หลายคนมองว่าผู้ที่มางาน Barcamp จะต้องมีความสามารถมากและตนเองไม่ได้มีความสามารถพอที่จะไปนำเสนออะไรให้ผู้ อื่นฟังได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร
งาน ComKUCamp จึงเกิดขึ้นเพื่อให้มีงานลักษณะนี้ขึ้นเป็นการภายใน โดยหวังว่าการพูดคุยระหว่างนิสิตซึ่งรู้จักกันดีอยู่แล้ว จะลดความรู้สึกห่างและเพิ่มความกล้าให้กับผู้ร่วมงานมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นก้าวแรกในการแลกเปลี่ยนความรู้กันสำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับ งานลักษณะนี้ได้ นอกจากนี้ยังทำให้นิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่าได้พบปะ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กัน